วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สารสนเทศโรงพยาบาลหัวตะพาน

          โรงพยาบาลหัวตะพานมีระบบบริหารจัดการข้อมูล/สารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ โดยมีเป้าหมายดังนี้

1. ด้านการวางแผนและออกแบบระบบ การวางแผนการใช้สารสนเทศในการดูแลรักษาผู้ป่วย การพัฒนาคุณภาพ การบริหาร การศึกษา หรือการวิจัย
  1. ออกแบบระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผน
  2. การออกแบบระบบสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
  3. บุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและออกแบบระบบสารสนเทศ
  4. การจัดทำและทบทวนแผนบริหารระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย
    • มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • มาตรฐานด้านไอทีของบุคลากร
    • ระเบียบปฏิบัติ
    • แนวทางปฏิบัติ
2. ด้านการดำเนินงานระบบสารสนเทศ การเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหาร การดูแลผู้ป่วย และการพัฒนาคุณภาพ
  1. การเชื่อมโยงข้อมูล/สารสนเทศจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประสิทธิภาพของการกระจายข้อมูล/สารสนเทศ หรือ เพื่อลดความขัดแย้งกันของข้อมูลที่เกิดขึ้นจากหลายฐานข้อมูล
  2. การสังเคราะห์ แปลผลข้อมูล/สารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการบริหาร การดูแลผู้ป่วย การพัฒนาคุณภาพ และการรายงานต่อส่วนราชการ
  3. การกระจายข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้อย่างถูกต้อง ทันเวลา โดยมีรูปแบบและวิธีการที่เป็นมาตรฐานและง่ายต่อการใช้
  4. การสนับสนุนทางเทคนิค โดยให้คำปรึกษา และ/หรือให้ความรู้/ฝึกอบรม แก่ผู้ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศตามความเหมาะสม
3. ด้านเวชระเบียน  การจัดระบบบริการเวชระเบียน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ
  1. ระบบดัชนีและระบบการจัดเก็บซึ่งเอื้อต่อการค้นหาเวชระเบียนได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการของผู้ใช้
  2. บริการค้นหาเวชระเบียนตลอด 24 ชั่วโมง
  3. เวชระเบียนผู้ป่วยในทุกฉบับได้รับการบันทึกรหัสและทำดัชนีภายในเวลาที่กำหนดไว้
  4. ระบบบันทึกเพื่อให้สามารถสืบหาเวชระเบียนที่ถูกยืมออกไปจากหน่วยงานได้
  5. การจัดทำเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกรายเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการ เกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา และประเมินคุณภาพการดูแลรักษาได้
  6. การจัดทำเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับบริการของโรงพยาบาล โดยมีข้อมูลและรายละเอียดเพียงพอสำหรับวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
    • ทราบว่าผู้ป่วยเป็นใคร
    • ทราบเหตุผลของการรับไว้นอนในโรงพยาบาล
    • มีข้อมูลสนับสนุนการวินิจฉัยโรค
    • ประเมินความเหมาะสมของการดูแลรักษาผู้ป่วย
    • ทราบผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
    • เอื้ออำนวยต่อการดูแลอย่างต่อเนื่องของผู้ให้บริการ
    • ให้รหัสโรคได้อย่างถูกต้อง
    • นโยบายและวิธีปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการบันทึกและการเก็บรายงานผลในเวชระเบียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น